รายละเอียดโครงการวิจัย

ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :
ศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพของไผ่เพื่อสร้างสรรค์เป็นผลิตภัณฑ์เพิ่มมูลค่าให้กับชุมชน ตำบลน้ำทรง อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :
The study biological diversity of bamboo to create a product adding value to the community. Numsong, Phayuhakiri, Nakhon sawan.
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :
คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
ลักษณะโครงการวิจัย :
โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :
ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :
โครงการวิจัยใหม่
วันเริ่มต้นโครงการ :
11 พฤศจิกายน 2558
วันสิ้นสุดโครงการ :
10 พฤศจิกายน 2559
ประเภทของการวิจัย :
งานวิจัยพื้นฐาน(ทฤษฎี)/บริสุทธิ์
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :
         จากประเด็นยุทศาสตร์การวิจัย พ.ศ. ๒๕๕๘ ที่กล่าวว่าการพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานความหลากหลายทางชีวภาพ ตามแผนงาน การวิจัยความหลากหลายทางชีวภาพ เพื่อการพัฒนาเป็นธุรกิจใหม่หรือธุรกิจแนวใหม่ (กรอบการวิจัยปีงบประมาณ ๒๕๕๘ หน้า ๓๑) ประกอบการการเปิดเขตการค้าเสรี (Free Trade Area: FTA) ที่ช่วยลดภาษีขาเข้า ทำให้ราคาสินค้านำเข้าถูกลง ถือเป็นการเพิ่มกำลังซื้อของประชาชนทางอ้อม ทั้งการลดภาษีนำเข้ายังช่วยกดดันให้ราคาสินค้าชนิดเดียวกันหรือสินค้าที่สามารถใช้ทดแทนกันได้ที่ผลิตในประเทศลดราคาลงด้วยอันเป็นผลมาจากการแข่งขันที่สูงขึ้น นอกจากนี้ การลดภาษีศุลกากรยังทำให้มีการนำเข้าสินค้าชนิดใหม่ๆที่ยังไม่เคยมีการนำเข้ามาก่อนเพราะเจอกำแพงภาษีในอดีตด้วย ถือเป็นการเพิ่มทางเลือกให้แก่ประชาชนอีกทาง ผลกระทบจากการเปิดเสรีของกลุ่มของผู้ผลิตสินค้าเพื่อขายในประเทศซึ่งจะต้องแข่งขันกับสินค้านำเข้าที่ราคาถูกลงทำให้ต้องมีการปรับตัวรับการแข่งขันที่เข้มข้นขึ้น (กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ : 2548) ไผ่เป็นพืชที่พบได้ทั่วไปในเขตพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ และประชาชนทั่วไปได้เพื่อใช้ประโยชน์จากไผ่มาช้านาน มีความหลากหลายทางชีวภาพด้านคุณสมบัติต่างกันออกไป แต่ในสภาพปัจจุบัน ชาวบ้านได้ปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตของตนมุ่งที่จะทำการเกษตรในปริมาณมาก ทำให้พื้นที่เดิมที่มีไผ่เกิดขึ้นเริ่มน้อยลง และองค์ความรู้ด้านการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากไผ่ไม่มีการสืบทอด ทำให้ความหลากหลายทางชีวภาพของไผ่ลดลงหากชุมชนสามารถนำสิ่งที่เป็นภูมิปัญญาดั้งเดิมของตนเองมาต่อยอดพัฒนาเป็นเศรษฐกิจสร้างสรรค์เพื่อเพิ่มมูลค่าได้แล้ว นอกจากจะเป็นประโยชน์กับชุมชนขอตนเองแล้วยังเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับชุมชนอื่นได้อีกด้วย ในฐานะเป็นทุนทางปัญญาสำหรับคนไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลิตภัณฑ์ที่เป็นผลผลิตทางภูมิปัญญาของไทย ด้วยเหตุข้างต้นผู้วิจัยเกิดความสนใจที่จะศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพเพื่อรวบรวมเรื่องราว ด้านต่างๆ ของไผ่ เช่นด้านคุณลักษณะ คุณสมบัติ และแปรรูปสร้างสรรค์เป็นผลิตภัณฑ์ชนิดต่างๆ ที่สามารถสร้างอาชีพ และรายได้ ให้กับชุมชน
วัตถุประสงค์ของโครงการ :
1 เพื่อศึกษารวบรวมข้อมูลทางด้านคุณสมบัติจากความหลากหลายทางชีวภาพของไผ่ ตำบลน้ำทรง อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ 2 เพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ที่เพิ่มมูลค่าให้กับชุมชน 3 เพื่อประเมินความพึงพอใจจากผู้ที่สนใจ
ขอบเขตของโครงการ :
1 ศึกษาและเก็บรวมรวมข้อมูลคุณสมบัติ ของไผ่จากความหลากหลายทางพันธุกรรม จากหนังสือ งานวิจัยและ Internet ถึงบริบทชุมชนและความหลากหลายทางชีวภาพของไผ่ 2 การ สัมภาษณ์ผู้สูงอายุในท้องถิ่นเกี่ยวกับบริบทชุมชน ทรัพยากรในท้องถิ่น สิ่งประดิษฐ์หัตถกรรมท้องถิ่น ภูมิปัญญาท้องถิ่นในจังหวัดนครสวรรค์ ที่ผลิตและพัฒนาในอดีต และที่ยังคงหลงเหลืออยู่ในปัจจุบัน 3 สัมภาษณ์ผู้ที่ผลิตในปัจจุบัน เกี่ยวกับวัตถุดิบที่นำมาผลิต วิธีการผลิต และการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากไผ่ 4 กลุ่มผู้ให้ข้อมูล 4.1 ผู้ประกอบการณ์ที่ใช้ประโยชน์จากไผ่ป็นวัตถุดิบ 4.2 ผู้สนใจผลิตภัณฑ์จากไม้ไผ่ตำบลน้ำทรง อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ 4.4 ผู้เชี่ยวชาญด้าน การออกแบบผลิตภัณฑ์ จำนวน 5 ท่าน 4.5 กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 246 คน โดยผู้วิจัยใช้สูตรการคำนวณหาขนาดของกลุ่มตัวอย่างของ W.G. Cochran โดยกำหนดความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 95 สัดส่วนของประชากรที่ผู้วิจัยต้องการสุ่ม 0.20 ได้จำนวนกลุ่มตัวอย่าง 246 คน โดยแบ่งเป็น 1 ผู้สนใจในผลิตภัณฑ์จากไม้ไผ่ตำบลน้ำทรง อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ จำนวน 246 คน 5 ตัวแปรที่ใช้ในการศึกษา 5.1 ตัวแปรอิสระ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์จากไม้ไผ่ตำบลน้ำทรง อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ 5.2 ตัวแปรตามได้แก่ ความพึงพอใจของผู้สนใจต่อผลิตภัณฑ์จากไม้ไผ่ตำบลน้ำทรง อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :
         
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :
-
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ :
ลำดับที่ รายชื่อ ประเภทนักวิจัย บทบาทหน้าที่ สัดส่วน
1 นางสาวเพ็ญนภา มณีอุด นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย หัวหน้าโครงการวิจัย 50%
2 นายจิรทัศน์ ดาวสมบูรณ์ นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย ผู้ร่วมวิจัย 50%
3 นายไพฑูรย์ ทองทรัพย์ นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย ที่ปรึกษาโครงการ 0%

สถาบันวิจัยและพัฒนา

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ศูนย์การศึกษาย่านมัทรี
398/1 หมู่ 3 ตำบลย่านมัทรี อำเภอพยุหะคีรี
จังหวัดนครสวรรค์ 60130

หมายเลขโทรศัพท์

056-219100 ต่อ 1139 งานวิจัย