มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
สถาบันวิจัยและพัฒนา
ระบบจัดการงานวิจัย
NSRU
RESEARCH
หน้าหลัก
ค้นหารายการ
ข้อมูลงานวิจัย
ข้อมูลนักวิจัย
รายงานสถิติ
งานวิจัย
งานทรัพย์สินทางปัญญา
เข้าสู่ระบบ
รายละเอียดโครงการวิจัย
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :
การพัฒนาวัสดุปลูกเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตพืชผักในระบบควบคุม (การปลูกผักในโรงเรือน)
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :
Development of Growing media for efficiency of vegetable
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :
คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
ลักษณะโครงการวิจัย :
โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :
ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :
โครงการวิจัยใหม่
วันเริ่มต้นโครงการ :
11 พฤศจิกายน 2558
วันสิ้นสุดโครงการ :
10 พฤศจิกายน 2559
ประเภทของการวิจัย :
งานวิจัยประยุกต์
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :
ความต้องการใช้พืชผัก มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเนื่องจากความต้องการสำหรับใช้บริโภคภายในประเทศเพิ่มขึ้น (กระแสเรื่องสุขภาพ) ปริมาณการส่งออกพืชผักสดและผลิตภัณฑ์ผักเพิ่มขึ้นทุกปี การผลิตของประเทศคู่แข่งในการส่งออกที่สำคัญได้แก่ จีน อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และเวียตนาม มีแนวโน้มการผลิตเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม การผลิตพืชผักส่วนใหญ่ก็ยังพบปัญหาต่างๆ มากมาย เช่น ผลผลิตต่ำและมีคุณภาพไม่สม่ำเสมอ ปริมาณและการกระจายตัวของผลผลิตไม่แน่นอน สารเคมีตกค้างเกินค่ามาตรฐานในผลผลิตและการผลิตผักที่ปลอดภัยยังไม่เพียงพอกับความต้องการของผู้บริโภค การผลิตพืชผักในระบบควบคุม หรือการปลูกผักในโรงเรือนเป็นการปลูกที่มีระบบการบริหารจัดการ ควบคุม ด้านการปลูกและดูแลรักษา การให้น้ำและปุ๋ยเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อควบคุมเจริญเติบโตของพืชให้ได้ผลผลิตที่มีปริมาณและ คุณภาพสูง ตลอดจนเป็นการผลิตผักให้ได้มาตรฐานความปลอดภัยจากการสารพิษตกค้างตามมาตรฐานที่กำหนด นอกจากนี้โรงเรือนที่คลุมปิดด้วยมุ้งตาข่ายไนล่อนสีขาวหรือสีฟ้า ขนาดช่องความถี่ 16 x 16 ช่องต่อ 1 ตารางนิ้ว ซึ่งจะทำให้ลดค่าใช้จ่ายในการใช้สารฆ่าแมลงลงได้ ประมาณ 80-90 % การผลิตภายใต้สภาพโรงเรือนเป็นสิ่งที่จำเป็น เนื่องจากสามารถป้องกันความเสียหายจากสภาพแวดล้อมธรรมชาติ ป้องกันพืชจากการทำลายของสัตว์ โรค และแมลงศัตรู สามารถกำหนดทิศทางวางแผนการผลิต เร่งการผลิดอกออกผล และปรับสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับพืชที่ปลูกได้ ด้านประสิทธิภาพการผลิตพืชระบบนี้ เนื่องจากการผลิตพืชผักในระบบควบคุมมีพื้นที่ในโรงเรือนเพาะปลูกพืชอย่างจำกัด จึงต้องวางแผนการผลิตให้ได้จำนวนรอบการผลิตต่อระยะเวลาหรือจำนวนรุ่นที่ปลูกต่อปีให้มากที่สุด นอกจากการจัดการดูแลให้พืชเจริญเติบโตและผลผลิตมีปริมาณและคุณภาพดี โดยปกติ ถ้าปลูกด้วยดินนั้น ในแต่ละรุ่นที่เก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว จะต้องมีการพักดินและปรับปรุงดิน เพื่อป้องกันด้านโรคแมลงที่จะสะสมในดินและปรับปรุงความอุดมสมบูรณ์ของดิน ซึ่งจะต้องใช้ระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งจะทำให้เสียโอกาสในการผลิต และนอกจากนี้ในด้านความสม่ำเสมอของความอุดมสมบูรณ์ของดินแต่ละรุ่นไม่เหมือนกัน จึงทำให้การจัดการควบคุมน้ำและปุ๋ยอย่างมีประสิทธิภาพทำได้ยาก ด้วยเหตุนี้การพัฒนาวัสดุปลูกพืชที่ดีและเหมาะสมกับระบบนี้ เพื่อทดแทนการใช้ดินปลูกตามปกติ จึงมีความสำคัญ ในด้านการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตพืชผักในระบบควบคุมหรือในโรงเรือนได้ วัสดุปลูกที่มีจำหน่ายทั่วไปในประเทศ โดยมากมักมีส่วนผสมของดิน ขุยมะพร้าว แกลบดิบ และอาจมีปุ๋ยคอกเป็นส่วนผสมอยู่ด้วยตามสัดส่วนที่แตกต่างกัน โดยเป็นที่สังเกตว่าวัสดุปลูกแต่ละชนิดที่มีจำหน่ายในท้องตลาดมีผลต่อการเจริญเติบโตของพืชแตกต่างกัน ทั้งนี้เนื่องจากการมีส่วนผสมที่แตกต่างกันในแต่ละชนิดและในแต่ละบริษัท ผู้ผลิต ปัจจุบันวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรและอุตสาหกรรมต่างๆ มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะในเขตภาคตะวันตกของประเทศไทย ซึ่งจากการสำรวจในช่วงปี พ.ศ. 2541-2542 พบว่า มีวัสดุเหลือใช้ที่สามารถนำ มาใช้ประโยชน์ด้านการเกษตร ในปริมาณรวมทั้งสิ้นไม่น้อยกว่า 600,000 ตันต่อปี (ชัยสิทธิ์และคณะ, 2541) หากมีการนำวัสดุเหลือใช้ดังกล่าวมาศึกษาและพัฒนาเป็นวัสดุปลูก ให้มีคุณสมบัติใกล้เคียงหรือดีกว่าวัสดุปลูกที่มีจำหน่ายทั่วไป นอกจากจะเป็นการนำวัสดุเหลือใช้มาใช้ประโยชน์หรือกำจัดให้หมดไปอย่างเหมาะสมแล้ว ยังเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่เกิดประโยชน์ทางการเกษตรและลดมลภาวะโดยการจัดการวัสดุเหลือใช้ได้อย่างมีคุณค่ายิ่ง
วัตถุประสงค์ของโครงการ :
6.1 ศึกษาคุณสมบัติทางกายภาพและเคมีบางประการของวัสดุเหลือทิ้งทางเกษตร ที่เกี่ยวข้องและเหมาะสมกับการเป็นวัสดุปลูก 6.2 เพื่อพัฒนาวัสดุเหลือทิ้งทางเกษตร ได้แก่ กากตะกอนหม้อกรองจากโรงงานอุตสาหกรรมน้ำตาล แกลบ ขี้ถ้าแกลบ กาบมะพร้าว เป็นวัสดุปลูกเพื่อการผลิตพืชไม่ใช้ดินในระบบโรงเรือน 6.3 เพื่อประเมินประสิทธิภาพของวัสดุปลูกเพื่อการผลิตพืชไม่ใช้ดินในระบบโรงเรือน
ขอบเขตของโครงการ :
งานวิจัยและพัฒนานี้เป็นการศึกษาคุณสมบัติบางประการของวัสดุเหลือทิ้งทางเกษตรได้แก่ กากตะกอนหม้อกรองจากโรงงานอุตสาหกรรมน้ำตาล แกลบ ขี้ถ้าแกลบ กาบมะพร้าว ที่เกี่ยวข้องกับวัสดุปลูกพืช ด้านทางกายภาพ ได้แก่ ความหนาแน่นรวม ความพรุนช่องอากาศ ความจุในการอุ้มน้ำ ความพรุนรวม และด้านทางเคมี ได้แก่ ความเป็นกรดด่าง ความจุในการแลกเปลี่ยนไอออนบวก ค่าความเป็นเกลือ ซึ่งเป็นค่าความเข้มข้นของเกลือที่ละลายน้ำ (g/l) สัดส่วนของคาร์บอนต่อไนโตรเจน (C/N) เพื่อใช้เป็นแนวทาง และนำมาพัฒนากากตะกอนหม้อกรอง เป็นวัสดุปลูกโดยวิธีการปั้นเม็ดหรือการใช้แรงบีบอัด หรือหาส่วนผสม ให้ได้วัสดุปลูกที่มีคุณสมบัติทางกายภาพและเคมีที่เหมาะสมเพื่อใช้ปลูกพืชระบบไม่ใช่ดิน หลังจากนั้นจึงนำมาทดสอบประสิทธิภาพของวัสดุปลูกเพื่อการผลิตพืชไม่ใช้ดินในระบบโรงเรือน
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :
วัสดุปลูกสำเร็จรูปที่พัฒนามาจากวัสดุเหลือทิ้งทางเกษตร ที่มีคุณสมบัติทางกายภาพและเคมีที่เหมาะสมเพื่อใช้ผลิตพืชทั้งระบบไม่ใช้ดินและการปลูกพืชในกระถางทั้งในการผลิตเชิงพาณิช และงานอดิเรก 11.2 ช่วยลดมลภาวะที่เกิดวัสดุเหลือทิ้งทางเกษตร ให้แก่โรงงานและชุมชนในพื้นที่รอบๆโรงงาน เพื่อความยั่งยืนของการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร 11.3 เพิ่มมูลค่าของวัสดุเหลือทิ้งจากการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร ของโรงงาน และชุมชนรอบๆโรงงาน
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :
-
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ :
ลำดับที่
รายชื่อ
ประเภทนักวิจัย
บทบาทหน้าที่
สัดส่วน
1
นายนพดล ชุ่มอินทร์
นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย
หัวหน้าโครงการวิจัย
60%
2
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทัศนุพันธุ์ กุศลสถิตย์
นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย
ผู้ร่วมวิจัย
40%
สถาบันวิจัยและพัฒนา
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ศูนย์การศึกษาย่านมัทรี
398/1 หมู่ 3 ตำบลย่านมัทรี อำเภอพยุหะคีรี
จังหวัดนครสวรรค์ 60130
หมายเลขโทรศัพท์
056-219100 ต่อ 1139 งานวิจัย
website
rdi.nsru.ac.th
Smart Rdi Nsru