มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
สถาบันวิจัยและพัฒนา
ระบบจัดการงานวิจัย
NSRU
RESEARCH
หน้าหลัก
ค้นหารายการ
ข้อมูลงานวิจัย
ข้อมูลนักวิจัย
รายงานสถิติ
งานวิจัย
งานทรัพย์สินทางปัญญา
เข้าสู่ระบบ
รายละเอียดโครงการวิจัย
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :
การศึกษาวิถีแห่งการดำรงชีวิตของประชากรในชุมชนโดยรอบเหมืองทองคำจังหวัดพิจิตร
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :
Study the way of life of the people in the communities surrounding goldfieldsPhichit
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ลักษณะโครงการวิจัย :
โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :
ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :
โครงการวิจัยใหม่
วันเริ่มต้นโครงการ :
11 พฤศจิกายน 2558
วันสิ้นสุดโครงการ :
10 พฤศจิกายน 2559
ประเภทของการวิจัย :
งานวิจัยประยุกต์
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :
วิถีการดำเนินชีวิตของคนในชนบทที่ห่างไกลความเจริญมีการดำรงชีวิตในวิถีของตนเองมาอย่างยาวนานคืออยู่อย่างพอเพียงสังคมที่เอื้ออาทรซึ่งกันและกัน มีการประกอบอาชีพทางเกษตรกรรมเป็นหลัก รายได้หลักมาจากการขายผลผลิตทางการเกษตร ซึ่งก็สามารถดำรงชีวิตอยู่กันต่อมาหลายชั่วอายุ เมื่ออุตสาหกรรมมาเกิดขึ้นในพื้นที่วิถีชีวิตที่เป็นอยู่เดิมก็เปลี่ยนแปลงไปในตอนแรกประชาชนก็หวังว่าอุตสาหกรรมจะทำให้พวกเขามีอาชีพใหม่ที่มีรายได้เพิ่มทำให้ความเป็นอยู่ของชีวิตที่ดีขึ้น แต่มิได้เป็นเช่นนั้นอุตสาหกรรมที่เกิดขึ้นบางประเภทไม่ได้ใช้แรงงานมากนักเนื่องด้วยใช้การทำงานจากเครื่องจักรกลเป็นหลัก จึงทำให้ประชาชนในถิ่นเดิมก็ไม่ได้รับการประกอบอาชีพจากการเกิดขึ้นของอุตสาหกรรมในท้องถิ่นของเขา อีกทั้งสิ่งที่ก่อให้เกิดปัญหาอย่างใหญ่หลวงคือการเปลี่ยนแปลงของระบบสิ่งแวดล้อมที่ได้ผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของเขาที่เปลี่ยนแปลงไป อุตสาหกรรมนำมาซึ่งมลพิษซึ่งประชาชนได้รับโดยไม่รู้ตัว ในระยะเวลาต่อมาสิ่งเหล่านั้นก็เกิดผลต่อ การประกอบอุตสาหกรรมเหมืองทองในประเทศไทยเริ่มเป็นที่รู้จักกันมากขึ้นเมื่อมีการสำรวจแล้วพบแหล่งของแร่ทองคำพบว่ามีแหล่งแร่อยู่กระจายกันทั่วไป ได้มีบริษัทที่ดำเนินกิจการทำเหมืองแร่ทองคำใหญ่ๆ 2 บริษัท ได้แก่ บริษัทอัคราไมนิ่ง จำกัด ซึ่งดำเนินกิจการอยู่ในพื้นที่อำเภอทับคล้อ จังหวัดพิจิตร และบริษัท ทุ่งคำ ดำเนินกิจการในพื้นที่ อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย การประกอบกิจการของอุตสาหกรรมเหมืองแร่ทองคำ ย่อมก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหลายๆ ด้านต่อชุมชนโดยรอบ วิถีแห่งการดำรงชีวิตเกิดการเปลี่ยนแปลงการดำเนินชีวิตที่อยู่กันหลายชั่วอายุคนมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น การเปลี่ยนแปลงทั้งเชิงโครงสร้างของครอบครัว เชิงสังคม การศึกษา สุขภาพอนามัย การเปลี่ยนที่เกิดขึ้นจะเกิดในด้านบวกหรือด้านก่อให้เกิดปัญหาหรือเสริมสร้างให้ชุมชนดีขึ้น ยังไม่มีการศึกษาที่เป็นรูปธรรมขึ้นมา การรับรู้จากสื่อเพียงเป็นข้อมูลในระยะสั้นๆ ที่ขาดการศึกษาเชิงโครงสร้างในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต ที่เป็นรูปแบบที่ยั่งยืน สิ่งที่ทราบกันดี
วัตถุประสงค์ของโครงการ :
6.1 ศึกษาผลกระทบของอุตสาหกรรมเหมืองทองคำที่มีต่อวิถีแห่งการดำรงชีวิตของประชากรที่อาศัยอยู่ในบริเวณโดยรอบ 6.2 นำเสนอรายงานผลการศึกษาผลกระทบเพื่อนำไปสู่ความร่วมมือและปรับใช้เพื่อให้วิถีแห่งการดำรงชีวิตของชุมชนได้ดำเนินชีวิตอย่างปกติสุขและยั่งยืน
ขอบเขตของโครงการ :
ศึกษาผลกระทบที่เกี่ยวข้องต่อการดำรงชีวิตของประชาชน โดยศึกษาในขอบเขตของชุมชนโดยรอบเหมืองทองคำ เขตอำเภอทับคล้อ จังหวัดพิจิตรในลักษณะเปรียบเทียบถึงอดีต ปัจจุบัน และแนวโน้มของอนาคต
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :
11.1 ทำให้รู้ถึงความเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของประชาชนในชุมชนโดยรอบเหมืองทองคำ 11.2 ทำให้รู้ถึงปัญหาที่มีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของประชาชนในชุมชนโดยรอบเหมืองทองคำ 11.3 เพื่อหาแนวทางหรือปรับโครงสร้างการดำเนินชีวิตที่เหมาะสมอย่างเป็นปกติสุขของประชาชนในชุมชนโดยรอบเหมืองทองคำ
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :
-
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ :
ลำดับที่
รายชื่อ
ประเภทนักวิจัย
บทบาทหน้าที่
สัดส่วน
1
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พีระพงษ์ เนียมเสวก
นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย
หัวหน้าโครงการวิจัย
100%
สถาบันวิจัยและพัฒนา
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ศูนย์การศึกษาย่านมัทรี
398/1 หมู่ 3 ตำบลย่านมัทรี อำเภอพยุหะคีรี
จังหวัดนครสวรรค์ 60130
หมายเลขโทรศัพท์
056-219100 ต่อ 1139 งานวิจัย
website
rdi.nsru.ac.th
Smart Rdi Nsru