รายละเอียดโครงการวิจัย

ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :
การพัฒนาสมรรถนะครูนักวิจัยเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมชุมชนคนต้นน้ำเจ้าพระยา สำหรับนักศึกษาครูมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :
A Competency Development of Teacher as Researchers to Promote Up-stream Chaopraya Community Cultural Tourism for student Teacher of Nakhon Sawan Rajabhat University
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :
คณะครุศาสตร์
ลักษณะโครงการวิจัย :
โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :
ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :
โครงการวิจัยใหม่
วันเริ่มต้นโครงการ :
13 มกราคม 2557
วันสิ้นสุดโครงการ :
12 มกราคม 2558
ประเภทของการวิจัย :
งานวิจัยประยุกต์
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :
         ความมั่นคงของชาติไทยขึ้นอยู่กับความสามารถของคนไทยในการดำรงตนอย่างมีวิจารณญาณในทุกโอกาส เมื่อมีภาระงาน ปัญหา อุปสรรคผ่านเข้ามาในชีวิต คนไทยต้องสามารถคิด วิเคราะห์ ประพฤติ สร้าง พัฒนา ประเมิน ตัดสินใจและแก้ปัญหาได้อย่างเป็นระบบ ช่วงเวลาที่ดีที่สุดต่อการพัฒนาทักษะต่างๆ นี้ก็คือ วัยเด็ก เมื่อนักเรียนได้รับการพัฒนาทักษะที่เอื้อต่อการคิดวิเคราะห์ ฯลฯ ได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้ว คุณลักษณะเหล่านี้จะติดตัวผู้เรียนไปตลอด ดังนั้น เมื่อผู้เรียนเข้าสู่ตลาดงานก็จะเปลี่ยนสภาพเป็นคนไทยที่สามารถดำรงตนได้อย่างมีวิจารณญาณ การเสริมความมั่นคงของชาติดังกล่าวในขั้นต้น ในขณะที่การปฏิรูปการศึกษาในประเทศไทยในวัยเด็กเป็นสิ่งที่จำเป็น เพราะจะเป็นกลไกในการผลิตคนไทยที่ดำรงตนอย่างมีวิจารณญาณได้อย่างยั่งยืน แต่จะใช้เวลาอย่างน้อย 16-20 ปี ก่อนที่คนรุ่นนี้จะเข้าสู่ตลาดงาน โดยมีครูแม่แบบที่มีคุณภาพและประสบการณ์ในการวิจัยจริงเป็นผู้สร้างสรรค์ ด้วยเหตุนี้ประเทศไทย จึงไม่สามารถที่จะละเลยผู้เรียนที่อยู่ในระดับอุดมศึกษาในปัจจุบันได้ การปฏิรูปการศึกษาในรูปแบบการพัฒนาบัณฑิตโดยเฉพาะครูยุคใหม่ แบบระบบรวบยอดครบวงจรที่เหมาะกับกำลังของชาติกลุ่มนี้จะช่วยให้ประเทศไทยได้กำลังคนที่เสริมความมั่นคงของชาติได้ภายในเวลา 4 ปี นักศึกษากลุ่มนี้จะได้รับการพัฒนาทักษะต่างๆ อย่างครบวงจรโดยใช้ทรัพยากร โจทย์ปัญหา และภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นหัวข้อการเรียนรู้ตลอด 4 ปีในการเรียนระดับอุดมศึกษา เพื่อให้สามารถเป็นครูต้นแบบยุคใหม่ที่จะถ่ายทอดสู่เยาวชนในภูมิภาคเพื่อเป็นเยาวชนยุคใหม่ต่อไป การปฏิรูปการศึกษาในรูปแบบการพัฒนาบัณฑิตแบบระบบรวบยอดครบวงจร จะเน้นกิจกรรมการเรียนที่กระตุ้นให้ผู้เรียนให้ความสำคัญต่อทรัพยากรในชุมชนในทุกรูปแบบไม่ว่าจะเป็น ทรัพยากรบุคคล ทรัพยากรธรรมชาติ ผลิตภัณฑ์ประจำชุมชน ผลผลิตทางการเกษตร อุตสาหกรรม ฯลฯ ผู้เรียนจะเข้าใจร่วมกันว่าการให้ความสำคัญกับชุมชนไม่ใช่เพียงการเกิดสำนึกที่ดีเท่านั้น แต่จะต้องนำเอาประเด็นปัญหาของชุมชนเข้ามาเป็นโจทย์ในการเรียนและการวิจัยของตนเองด้วย ผู้เรียนต้องมีบทบาทในการเรียนแบบลงมือปฏิบัติด้วยตนเองกลยุทธ์ที่สำคัญในการดำเนินงานที่มีสัมฤทธิ์ผล ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอน (คณาจารย์และผู้บริหาร) ต้องทำความเข้าใจให้ตรงกันว่าการปฏิรูปการศึกษาเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เป็นองค์ประกอบสำคัญต่อความมั่นคงของชาติ ผู้เรียนต้องได้รับการพัฒนาไปในทิศทางเดียวกัน ภายใต้การตั้งและตอบโจทย์ในเชิงวิจัย/พัฒนาร่วมกัน เพื่อให้ได้กำลังคนที่มีความสามารถทางความคิดและมีฝีมือจำนวนมากพอที่จะสร้าง impact ต่อการพัฒนาชาติได้ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ตั้งอยู่ในจังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งมีพื้นที่ทางกายภาพพื้นที่หนึ่งที่มีความสำคัญต่อผู้คนในประเทศมากพอสมควร คือพื้นที่ต้นน้ำเจ้าพระยา เพราะพื้นที่ดังกล่าวเป็นแหล่งรวมของแม่น้ำ 4 สาย และเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งเป็นแม่สำคัญสายหนึ่งของประเทศ ในพื้นที่ดังกล่าวเรามักพบเห็นความหลากหลายของความอุดมสมบูรณ์ในพืชพันธุ์ธัญญาหาร ความหลากหลายของผู้คน ประเพณีวัฒนธรรม จากประเด็นดังกล่าวจึงทำให้คณะผู้วิจัยสนใจที่จะหยิบยกพื้นที่ต้นน้ำเจ้าพระยาเป็นพื้นที่ศึกษา ทั้งนี้เพื่อเชื่อมโยงปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นเพื่อนำไปใช้เป็นกระบวนในการสร้างกระบวนทัศน์การเรียนรู้ใหม่ ๆ ต่อการสร้างรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม สะท้อนความเป็นวิถีชีวิตของคนที่อยู่ในชุมชนคนต้นน้ำ ไม่ว่าจะเป็นการเรียนรู้ การดำรงอยู่ การปรับตัวและการเปลี่ยนแปลงในสภาพบริบทที่เปลี่ยนไปถือว่าเป็นประเด็นที่น่าสนใจต่อการถอดรหัสความรู้ที่เกิดขึ้น ทั้งนี้เพื่อนำสิ่งเหล่านี้เข้ามาสู่กระบวนการเรียนรู้ใหม่ ๆ ที่ไม่ได้อยู่เพียงแต่ในโรงเรียน หรืออยู่เพียงแต่ในมหาวิทยาลัยเท่านั้น ซึ่งเป็นความรู้ที่อยู่ตามธรรมชาติ ดังนั้นการให้ความสำคัญต่อกลุ่มชาติพันธุ์ที่ปรากฏพบเห็นและพำนักอาศัยอยู่ในบริเวณต้นน้ำเจ้าพระยาก็เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึง เพราะจะทำให้เราสามารถศึกษาความหลายหลายในมิติมุมมองต่าง ๆ ได้อย่างครอบคลุม และที่สำคัญน่าจะเป็นการตีกรอบและสร้างวิธีการดำเนินการวิจัยเพื่อพัฒนารูปแบบการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่ซ่อนอยู่ได้อย่างชัดเจนขึ้น จากความสำคัญดังกล่าวข้างต้น คณะผู้วิจัยจึงสนใจศึกษาและพัฒนาศักยภาพครูสู่ ความเข้มแข็งของชุมชนบนฐานองค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ในเขตจังหวัดนครสวรรค์ ว่าควรมีแนวทางหรือวิธีการพัฒนาศักยภาพครูสู่ความเข้มแข็งของชุมชนบนฐานองค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นอย่างไร เพื่อให้บุคลากรของสถานศึกษามีส่วนร่วมในการดำเนินการบริหารจัดการคุณภาพร่วมกับชุมชน มีความร่วมมือหลายจากหลายภาคส่วน จนสามารถปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ของบุคคลและชุมชน บนพื้นฐานองค์ความรู้ภูมิปัญญาและทรัพยากรท้องถิ่น ให้สามารถเรียนรู้และปรับตนเองเข้ากับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไปได้โดยเสริมสร้างกระบวนการตัดสินใจที่ตอบสนองความต้องการของท้องถิ่นอย่างแท้จริง
วัตถุประสงค์ของโครงการ :
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อพัฒนาสมรรถนะครูนักวิจัยเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว เชิงวัฒนธรรมชุมชนคนต้นน้ำเจ้าพระยา สำหรับนักศึกษาครูมหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์ โดยมีวัตถุประสงค์ย่อยดังนี้ 6.1 เพื่อให้นักศึกษาครูชั้นปีที่ 1 มีทักษะการวิจัยด้านการสืบค้นข้อมูล 6.2 เพื่อให้นักศึกษาครูชั้นปีที่ 2 มีทักษะการกำหนดปัญหาการวิจัย 6.3 เพื่อให้นักศึกษาครูชั้นปีที่ 3 มีทักษะการเขียนเค้าโครงการวิจัย 6.4 เพื่อให้นักศึกษาครูชั้นปีที่ 4 มีทักษะการดำเนินการวิจัยจากโจทย์การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมชุมชนคนต้นน้ำเจ้าพระยา
ขอบเขตของโครงการ :
งานวิจัยนี้มุ่งเน้นการพัฒนานักศึกษาครูให้มีสมรรถนะครูนักวิจัยโดยใช้โจทย์การท่องเที่ยว เชิงวัฒนธรรมชุมชนคนต้นน้ำเจ้าพระยา มีนักวิจัยร่วมโครงการ จำนวน 3 คน จากคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ โดยขอบเขตของโครงการวิจัยมีรายละเอียดดังนี้ 7.1 การวิจัยนี้มุ่งพัฒนานักศึกษาครูมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ให้มีสมรรถนะครูนักวิจัย โดยมีทักษะการวิจัยด้านการสืบค้นข้อมูล การกำหนดปัญหาการวิจัย การเขียนเค้าโครงการวิจัย และ การดำเนินการวิจัยโดยใช้โจทย์การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมชุมชนคนต้นน้ำเจ้าพระยา 7.2 กลุ่มเป้าหมายในการพัฒนา ได้แก่ นักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ชั้นปีที่ 1-4 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 ประกอบด้วยนักศึกษาชั้นปีละ 3 สาขาวิชา จำนวน 120 คน รวมทั้งสิ้น 480 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster random sampling) ดังนี้ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 มุ่งเน้นการพัฒนาทักษะนักวิจัยด้านการสืบค้นข้อมูลให้สามารถสืบค้นข้อมูลได้อย่างน้อย 3 แหล่ง นักศึกษาชั้นปีที่ 2 มุ่งเน้นการพัฒนาทักษะนักวิจัยด้านการกำหนดปัญหาการวิจัย นักศึกษาชั้นปีที่ 3 มุ่งเน้นการพัฒนาทักษะนักวิจัยด้านการเขียนเค้าโครงการวิจัย และนักศึกษาชั้นปีที่ 4 มุ่งเน้นการพัฒนาทักษะการดำเนินการวิจัย 7.3 ขอบเขตด้านพื้นที่ ได้แก่ จังหวัดนครสวรรค์
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :
1. โจทย์วิจัยเกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่นและชุมชน ผลสำเร็จตามเป้าประสงค์ (G) ได้แก่ 1. นักศึกษาครูมีสมรรถนะครูนักวิจัย 2. ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมชุมชนคนต้นน้ำเจ้าพระยา
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :
         13.1 ศึกษาวิจัยสถาบัน เพื่อให้ได้ข้อมูลหน่วยงาน หลักสูตรการเรียนการสอน การวิจัย การบริหารงานของหน่วยงาน องค์กร พร้อมทั้งการวิจัยชุมชน เพื่อหาข้อมูลภูมิปัญญา ทรัพยากรท้องถิ่นโดยเฉพาะภูมิปัญญาสมุนไพรพื้นบ้าน ศึกษาโจทย์วิจัยเกี่ยวกับปัญหาชุมชน องค์กร/ชุมชน การสื่อสาร รวมทั้งความอ่อนแอหรือความเข้มแข็งของชุมชนท้องถิ่น เพื่อประเมินภาพรวมของหน่วยงานและชุมชน 13.2 จากข้อมูลในข้อ 1 กำหนดโจทย์วิจัย และบทเรียน หรือกิจกรรมเข้าสู่ชั้นเรียนระดับปริญญาตรีในระดับชั้นปีที่ 1 – 4 ให้เหมาะสมกับแผนการศึกษาในระดับชั้นปีต่างๆ 13.3 ดำเนินการพัฒนาสมรรถนะครูนักวิจัยให้กับนักศึกษาครู มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมชุมชนคนต้นน้ำเจ้าพระยา มีรายละเอียดดังนี้ - นักศึกษาครูชั้นปีที่ 1 พัฒนาสมรรถนะครูนักวิจัยเกี่ยวกับทักษะการสืบค้นข้อมูลจากแหล่งข้อมูลอย่างน้อย 3 แหล่ง ได้แก่ การศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับประวัติ ความสำคัญ ความเป็นอยู่ วัฒนธรรมต่าง ๆ ของชุมชนคนต้นน้ำเจ้าพระยา โดยให้นักศึกษาได้มีโอกาสศึกษา ค้นคว้าข้อมูล สำรวจ แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับภูมิปัญญาท้องถิ่น หรือแหล่งข้อมูลในชุมชน และสรุปผลการศึกษาจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ - นักศึกษาครูชั้นปีที่ 2 พัฒนาสมรรถนะครูนักวิจัยเกี่ยวกับทักษะการกำหนดปัญหา การวิจัย โดยให้นักศึกษาได้สำรวจพื้นที่ เรียนรู้วัฒนธรรมชุมชนในจังหวัดนครสวรรค์ และฝึกกำหนดปัญหาการวิจัยจากวัฒนธรรมชุมชนคนต้นน้ำเจ้าพระยา ศึกษาเชิงลึกตามรายวิชาที่ลงเรียน 2-3 สาขาวิชา - นักศึกษาครูชั้นปีที่ 3 พัฒนาสมรรถนะครูนักวิจัยเกี่ยวกับทักษะการเขียนเค้าโครงการวิจัย โดยผู้วิจัยจัดให้ความรู้ด้วยการบูรณาการกับการเรียนการสอนในรายวิชา การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ และนักศึกษาฝึกเขียนเค้าโครงการวิจัยจากโจทย์การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมชุมชนคนต้นน้ำเจ้าพระยา - นักศึกษาครูชั้นปีที่ 4 พัฒนาสมรรถนะครูนักวิจัยเกี่ยวกับทักษะการดำเนินการวิจัยจากโจทย์การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมชุมชนคนต้นน้ำเจ้าพระยา โดยให้นักศึกษาได้ฝึกดำเนินการวิจัยเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 10 – 15 คน ศึกษาวัฒนธรรมชุมชนคนต้นน้ำเจ้าพระยา และเชื่อมโยงกับการท่องเที่ยว กำหนดปัญหาการวิจัย เขียนเค้าโครงการวิจัย และดำเนินการวิจัยเน้นการส่งเสริมการท่องเที่ยงเชิงวัฒนธรรม ตามหัวข้อหรือโจทย์วิจัยที่ตนเองกำหนด พร้อมทั้งนำเสนอผลการวิจัยต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 13.4 จัดนำเสนอผลงานของนักศึกษาครูแต่ละชั้นปี จัดเวทีสัมมนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างนักศึกษา 13.5 วิเคราะห์และประเมินผลโครงการวิจัย โดยเน้นการพัฒนาทักษะของนักศึกษาครูที่สอดคล้องตามแผนการเรียนของแต่ละระดับชั้น และการใช้ผลงานวิจัยในการพัฒนาชุมชน
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :
-
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ :
ลำดับที่ รายชื่อ ประเภทนักวิจัย บทบาทหน้าที่ สัดส่วน
1 นางสิริพร ปาณาวงษ์ นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย หัวหน้าโครงการวิจัย 40%

สถาบันวิจัยและพัฒนา

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ศูนย์การศึกษาย่านมัทรี
398/1 หมู่ 3 ตำบลย่านมัทรี อำเภอพยุหะคีรี
จังหวัดนครสวรรค์ 60130

หมายเลขโทรศัพท์

056-219100 ต่อ 1139 งานวิจัย