รายละเอียดโครงการวิจัย

ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :
การพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางสมุนไพรจากพืชสมุนไพรในจังหวัดนครสวรรค์
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :
Herbal cosmetic development from medicinal plants in Nakhon Sawan province
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ลักษณะโครงการวิจัย :
โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :
อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :
โครงการวิจัยใหม่
วันเริ่มต้นโครงการ :
19 กุมภาพันธ์ 2559
วันสิ้นสุดโครงการ :
18 กุมภาพันธ์ 2560
ประเภทของการวิจัย :
งานวิจัยประยุกต์
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :
         อาหารจัดเป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ในการดำรงชีวิตของมนุษย์ส่วนเครื่องดื่มต่างๆ นั้นก็เป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน ซึ่งในแต่ละวันมนุษย์ทุกคนต้องมีการบริโภคอาหารและเครื่องดื่มเป็นประจำ ประกอบกับในปัจจุบันนี้ มีอาหารและเครื่องดื่มหลากหลายประเภทให้เลือกบริโภค ซึ่งข้อดีก็คือเป็นทางเลือกที่หลากหลายมากขึ้นในการบริโภค แต่ทว่า อาหารและเครื่องดื่มในปัจจุบันมีการใช้สารเคมีในรูปของสารปรุงแต่งรสชาติ เช่น โซเดียม น้ำตาล ฯลฯ เป็นจำนวนมาก และหากผู้บริโภคมีการบริโภคเป็นประจำก็จะเกิดการสะสมในร่างกาย และส่งผลโดยตรงต่อสุขภาพพลานามัยของมนุษย์ ทำให้เกิดโรค หรือความผิดปกติต่างๆ ในร่างกาย ด้วยเหตุผลดังกล่าว มนุษย์ในปัจจุบันนี้ จึงเริ่มหันกลับไปสนใจแหล่งวัตถุดิบจากธรรมชาติ ซึ่งได้แก่สมุนไพรนานาชนิดโดยสมุนไพรถูกใช้เป็นแหล่งวัตถุดิบในธรรมชาติที่มีการศึกษาและใช้บริโภคมาช้านานแล้ว เนื่องจากสมุนไพรมีสรรพคุณในการรักษาโรค เสริมสร้าง และบำรุงร่างกาย ดังนั้นสมุนไพรจึงเป็นตัวเลือกที่สำคัญสำหรับใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตเป็นอาหารและเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ จากการสำรวจสมุนไพรที่พบในจังหวัดนครสวรรค์นั้น พบว่า มีความหลากหลายของสมุนไพรหลากหลายชนิด โดยสมุนไพรแต่ละชนิดจะมีสรรพคุณในด้านการรักษาโรค เสริมสร้าง และบำรุงร่างกายแตกต่างกันไป คณะผู้จัดทำ จึงได้เลือกสมุนไพรที่สามารถหาได้ง่ายในท้องถิ่นมาผลิตเป็นอาหารและเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพโดยใช้วิธีการผลิตที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อน ซึ่งนอกจากจะทำให้ประชาชนสามารถนำไปผลิตและบริโภคได้ในครัวเรือนแล้ว ประชาชนยังสามารถนำไปประกอบอาชีพได้อีกด้วย
วัตถุประสงค์ของโครงการ :
1. เพื่อสร้างผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มจากพืชสมุนไพร 2. เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ในการสร้างผลิตภัณฑ์สมุนไพรสู่ชุมชน 3. เพื่อทำให้เกิดชุมชนเข้มแข็งสามารถพึ่งพาตนเองได้ทั้งการผลิตผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มสมุนไพรเพื่อการบริโภคในครัวเรือนภายในชุมชนหรือจำหน่ายเพื่อสร้างรายได้
ขอบเขตของโครงการ :
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยประยุกต์ที่มีขอบเขตของการวิจัยดังนี้ 1. ประชากรที่ศึกษา คือ พืชสมุนไพรในจังหวัดนครสวรรค์ 2. พื้นที่เป้าหมาย คือ บ้านเนื้อร้อน อ.หนองข่าหย่าง จังหวัดอุทัยธานี 3. ทำการสืบค้นข้อมูลในด้านฤทธิ์ของพืชสมุนไพรที่มีในจังหวัดนครสวรรค์ เพื่อคัดเลือกพืชสมุนไพรที่น่าสนใจและเหมาะสมต่อการนำมาต่อยอดพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์สมุนไพรประเภทต่างๆ 4. ทำการถ่ายทอดองค์ความรู้ที่เหมาะสมต่อการผลิตผลิตภัณฑ์สมุนไพรแก่ประชาชนในกลุ่มอำเภอเป้าหมาย 5. ช่วงเวลาของการวิจัยตั้งแต่เดือน ตุลาคม 2558 – เดือนกันยายน 2559 6. ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ 6.1 พืชสมุนไพรในจังหวัดนครสวรรค์ 6.2 ฤทธิ์ทางชีวภาพของพืชสมุนไพรในจังหวัดนครสวรรค์ 6.3 ผลิตภัณฑ์จากพืชสมุนไพรในจังหวัดนครสวรรค์ 6.4 การถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับพืชสมุนไพรในจังหวัดนครสวรรค์ 7. พืชสมุนไพร หมายถึง พืชที่ใช้ ทำเป็นเครื่องยา ซึ่งได้มาจากธรรมชาติในจังหวัดนครสวรรค์ และมีสรรพคุณในการรักษาโรคหรืออาการเจ็บป่วยต่างๆ รวมถึงใช้ในการส่งเสริมสุขภาพร่างกายได้ พืชสมุนไพรนอกจากจะใช้เป็นยาแล้ว ยังใช้ประโยชน์เป็นอาหาร ใช้เตรียมเป็นเครื่องดื่ม ใช้เป็นอาหารเสริม เป็นส่วนประกอบในเครื่องสำอาง ใช้แต่งกลิ่น แต่งสีอาหาร
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :
1. ได้ผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มจากพืชสมุนไพรในจังหวัดนครสวรรค์ 2. สถานศึกษานำองค์ความรู้ไปใช้ประโยชน์สำหรับการจัดการเรียนการสอน 3. เผยแพร่องค์ความรู้ในเวทีวิชาการและวารสารวิจัย 4. บุคคลที่สนใจ สามารถใช้ประโยชน์จากสมุนไพรได้อย่างถูกต้อง 5. สร้างรายได้ให้กับชุมชนที่ได้รับการบริการทางด้านวิชาการจากการทำวิจัย
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :
         การพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางจากพืชสมุนไพร 1. ประชากรที่ศึกษา - พืชสมุนไพรชนิดต่างๆ ในจังหวัดนครสวรรค์ 2.กลุ่มตัวอย่าง - พืชสมุนไพรทั้งแบบสดและแห้ง ในจังหวัดนครสวรรค์ 3. วิธีการศึกษา ทดสอบการออกฤทธิ์ทางชีวภาพของพืชสมุนไพรบางชนิด - ทำการสกัดสมุนไพรที่ได้ทำการคัดเลือกไว้ด้วยตัวทำละลายน้ำนำมาระเหยตัวทำละลายด้วยเครื่อง evaporator เก็บสารสกัดที่ได้ในขวดสีชา และนำไปเก็บรักษาในตู้เย็นเพื่อรอทดสอบ - นำสารสกัดที่ได้จากพืชสมุนไพรต่างๆและยาปฏิชีวนะ (ตัวควบคุมบวก) มาทำการทดสอบการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียก่อโรคผิวหนังด้วยวิธี agar well diffusion บ่มเพาะเชื้อ สังเกตวงใส - นำสมุนไพรที่มีฤทธิ์ยับยั้งแบคทีเรียก่อโรค มาหาค่า Minimal inhibitory concentration (MIC) และ ค่า Minimal bactericidal concentration (MBC) พัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางจากสมุนไพร - การสร้างผลิตภัณฑ์กลุ่มทำความสะอาดจากพืชสมุนไพร โดยทำการคัดเลือกพืชสมุนไพรที่ออกฤทธิ์ทางชีวภาพในการยับยั้งเชื้อก่อโรค มาทำการพัฒนาเป็น แชมพู ครีมนวดผม โฟมล้างหน้า สบู่ และโทนเนอร์ เป็นต้น
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :
เป็นงานวืจัยที่พัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรเพื่อสร้างรายได้แก่ชุมชนที่ทีมวิจัยออกให้บริการวิชาการในดเานการพัฒนาเครื่องสำอางสมุนไพร
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ :
ลำดับที่ รายชื่อ ประเภทนักวิจัย บทบาทหน้าที่ สัดส่วน
1 นายเรณู อยู่เจริญ นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย หัวหน้าโครงการวิจัย 60%
2 นายธีระยุทธ เตียนธนา นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย ผู้ร่วมวิจัย 10%
3 นายพันธ์ระวี หมวดศรี นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย ผู้ร่วมวิจัย 10%
4 นางสาวเพชรัชน์ อ้นโต นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย ผู้ร่วมวิจัย 10%
5 นายติยะภรณ์ เหลืองพิพัฒน์ นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย ผู้ร่วมวิจัย 10%

สถาบันวิจัยและพัฒนา

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ศูนย์การศึกษาย่านมัทรี
398/1 หมู่ 3 ตำบลย่านมัทรี อำเภอพยุหะคีรี
จังหวัดนครสวรรค์ 60130

หมายเลขโทรศัพท์

056-219100 ต่อ 1139 งานวิจัย